ตรวจแบบประเมิน
  + แบบฟอร์ม ALS/ILS
  + แบบฟอร์ม BLS
  + แบบฟอร์ม FR
  รายงานแบบประเมิน
  + แบบร้อยละและค่าเฉลี่ย
  การจัดการผู้ใช้ระบบ
  + ผู้ใช้ระบบ
 

วัตถุประสงค์

1.เพื่อกระตุ้นให้เกิดระบบการทบทวนและพัฒนาคุณภาพและการบริหารจัดการระบบการแพทย์ฉุกเฉินอย่างต่อเนื่องในระดับจังหวัด
2.เพื่อพัฒนากลไกและเครื่องมือการกำกับ ติดตามคุณภาพการจัดระบบการแพทย์ฉุกเฉิน

เป้าหมาย

- 76 จังหวัดทั่วประเทศ

เครื่องมือการตรวจประเมิน

แบบตรวจประเมิน แยกตามระดับของการปฏิบัติการ พร้อมคู่มือ และคำอธิบายการใช้แบบตรวจประเมิน ทั้งนี้แบบตรวจประเมินของแต่ละระดับแบ่งเป็น 6 ส่วน คือ

ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของการปฏิบัติการและข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วย
ส่วนที่ 2 ประเมินการปฏิบัติการของศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ
ส่วนที่ 3 ประเมินการดูแลรักษาพยาบาลเบื้องต้นของชุดปฏิบัติการแต่ละระดับ
ส่วนที่ 4 ประเมินโรงพยาบาลที่รับการนำส่งต่อในเรื่องการประเมินความเหมาะสมถูกต้องการดูแลผู้ป่วยของชุดปฏิบัติการแต่ละระดับ
ส่วนที่ 5 ประเมินความเหมาะสมและถูกต้องของการเบิกจ่ายชดเชยค่าบริการ
ส่วนที่ 6 การประเมินภาพรวมของการออกปฏิบัติการในครั้งนั้น

แผนการดำเนินงาน

กิจกรรม ระยะเวลา
1.พัฒนารูปแบบ แนวทาง เครื่องมือการประเมิน  
1.1 แต่งตั้งคณะทำงานย่อยพัฒนารูปแบบ แนวทาง เครื่องมือการ ประเมิน EMS  
1.2 ประชุมคณะทำงานย่อยพัฒนารูปแบบ แนวทาง เครื่องมือการ ประเมิน EMS  
1.3 พิมพ์คู่มือแนวทางและแบบฟอร์มการตรวจสอบชดเชยค่าบริการในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน  
1.4 สรรหาผู้ตรวจประเมิน  
2. จัดประชุมชี้แจงแนวทาง พร้อม พัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการตรวจสอบชดเชยค่าบริการในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน  
3. สำนักงานระบบการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัด / สำนักการแพทย์ กทม. ดำเนินการตรวจสอบชดเชยค่าบริการในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน  
4. สำนักงานระบบการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัด / สำนักการแพทย์ กทม. สรุป วิเคราะห์ผลดำเนินการตรวจสอบชดเชยค่าบริการในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน  
5. ประชุมสรุปผล การประเมินดำเนินการตรวจสอบชดเชยค่าบริการในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน  

 

ลิขสิทธิ์ โดย สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ปี 2554